วิธีคำนวณค่าไฟเพื่อใช้ติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์

การติดตั้งระบบโซลาเซลล์นั้นได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายประหยัดพลังงานและช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม แต่ก่อนจะเลือกใช้หรือติดตั้งโซลล่าเซลล์นั้น เราจะต้องดูปริมาณไฟฟ้าที่เราใช้อยู่นั้นว่ามากหรือน้อยเพียงใดเพื่อการคำนวณการใช้ไฟฟ้าดูความเหมาะสมในการใช้งานโซลล่าเซลล์ขนาด แบบออนกริด(On Grid)และออฟกริด(Of Grid) ระบบการติดตั้งที่แตกต่างกันออกไปอีก นอกจากนั้นยังมีอีกหลายองค์ประกอบที่เราควรคำนวณก่อนการติดตั้งโซลาเซลล์

วิธีคำนวณค่าไฟเพื่อติดตั้งระบบโซลาเซลล์แบบ ออนกริด(On Grid)

วิธีที่ 1 สำหรับการใช้ไฟในช่วงกลางวันเยอะ

การคำนวณนี้เหมาะสำหรับบ้านพักอาศัยทั่วไป
ตัวอย่าง
การใช้ไฟฟ้ากลางวันต่อ 1 เดือน ÷ 30 วัน = หน่วยการใช้ไฟต่อวัน
สมมติให้การใช้ไฟต่อเดือน คือ 4,211 หน่วย / 30 วัน = 141 หน่วย (ต่อวัน)
หลังจากที่ได้หน่วยไฟฟ้าต่อวันแล้ว จึงนำมาคำนวนถึงชั่วโมงที่ใช้แสงอาทิตย์ เพื่อเป็นวิธีในการเลือกใช้โซลาร์เซลล์ ซึ่งในช่วงกลางวันเราจะใช้ไฟประมาณ 50% (ในที่นี่คิดเป็น 70 หน่วย)
นำ (หน่วยใช้ไฟต่อวัน คิดจาก 50% ของ 141 หน่วย) 70 ÷ 4 (ชั่วโมงแสงอาทิตย์) = 17 kW หมายความว่า เราสามารถติดตั้งโซลาร์เซลล์ได้ถึง 17 kW นั่นเอง

วิธีที่ 2 สำหรับการใช้ไฟช่วงกลางวันน้อย

การคำนวนนี้เหมาะสำหรับบ้านอาคารเยอะ เช่น สำนักงานที่ใช้ช่วงเวลาปกติ
ตัวอย่าง
ใช้ไฟฟ้ากลางวัน 50 หน่วย จากการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 100 หน่วย ซึ่งคิดเป็น 50% ของการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด
ติดตั้งโซลาร์เซลล์ 50 kWp เพื่อผลิตไฟครอบคลุม 100% ของการใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวัน
วิธีนี้จะช่วยให้ได้ขนาดระบบโซลาร์เซลล์ที่ประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาวมากยิ่งขึ้น

วิธีที่ 3 สำหรับการใช้ไฟที่ไม่ค่อยคงที่

การคำนวนนี้เหมาะสำหรับบ้านพักอาศัยทั่วไป มีการใช้งาานไฟฟ้าในวันหยุด
ตัวอย่าง
บันทึกการใช้ไฟฟ้าทุกๆ 1 วัน เป็นเวลา 3-7 วัน
หาค่าเฉลี่ยการใช้ไฟฟ้าต่อวัน (kWh/day)
เลือกติดตั้งโซลาร์เซลล์ให้ผลิตไฟได้ 90-100% ของค่าเฉลี่ยต่อวัน
ใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยต่อวัน = 15 kW
เลือกติดตั้งโซลาร์เซลล์ 15 kW เพื่อผลิตไฟได้ 100% ของค่าเฉลี่ยต่อวัน
วิธีนี้จะทําให้ได้ขนาดระบบโซลาร์เซลล์ที่เหมาะสม แม้การใช้ไฟฟ้าจะไม่คงที่ก็ตาม

วิธีที่ 4 สำหรับการคำนวณจากบิลค่าไฟ

การคำนวณนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ใช้ไฟฟ้าคงที่ บ้านพักอาศัยทั่วไปใช้ไฟไม่มากนัก โดยวัดจากมิตเตอร์ไฟฟ้า
ดูข้อมูลจากบิลค่าไฟ แยกออกเป็น A – ค่าพลังงานไฟฟ้า B – ค่าบริการรายเดือน C – ค่า ft D – รวมเงินค่าไฟฟ้า E – ภาษีมูลค่าเพิ่ม F – รวมเงินค่าไฟฟ้าเดือนปัจจุบัน

ค่าไฟฟ้ารวมทั้งหมด จาก A+B+C+E หรือ  D+E ออกมาเป็น F
ตัวอย่าง
ค่า A+B+C = D
3,010.74 + 38.22 + (-84.91) = 2,964.05 บาท
D + E = F
2,964.05 + 207.48 บาท = 3,171.53 บาท

สรุปโซลาร์เซลล์แบบออนกริด จะมีราคาอยู่ที่ประมาณ 2.5 – 3.5 หมื่นบาทต่อ kW ซึ่งก็จะใช้เวลาคืนทุนประมาณ 5-7 ปี โดยขึ้นอยู่กับขนาดของระบบและการใช้งานด้วยนั่นเอง

วิธีคำนวณค่าไฟเพื่อติดตั้งระบบโซลาเซลล์แบบ ออฟกริด(Off Grid)

การคำนวณพลังงานของอุปกรณ์ไฟฟ้า (Load)

การคํานวณ Load ของอุปกรณ์ไฟฟ้า สามารถทําได้โดยดูจากกําลังไฟฟ้าของอุปกรณ์ (Watt หรือ W) คูณด้วยชั่วโมงการใช้งานต่อวัน
1.) หลอดไฟ LED 10 หลอด x กําลังไฟฟ้า 10 วัตต์/หลอด x เปิดใช้งานวันละ 5 ชั่วโมง
พลังงานไฟฟ้าที่ต้องการ (Load)  = 10 x 10 x 5 = 500 W /วัน
2.)  ตู้เย็น = กําลังไฟฟ้า 150 วัตต์ x เปิดใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง
พลังงานไฟฟ้าที่ต้องการ (Load) = 150 x 24 = 3,600 W /วัน
เมื่อรวม Load ทั้งหมดของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ แล้ว จากนั้นจึงนําไปใช้ในการคํานวณหาขนาดระบบโซลาร์เซลล์ที่เหมาะสมต่อไป

การคำนวณแบตเตอรี่

การคํานวณขนาดแบตเตอรี่ ให้ดูจากปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ต่อวัน (Load) คูณด้วยจํานวนวันเก็บสํารอง (Days of Autonomy) ที่ต้องการ เช่น 3-5 วัน
Load ต่อวัน = 3,000 Wh
ต้องการเก็บสํารองไฟฟ้าไว้ใช้ได้ 4 วัน
ขนาดแบตเตอรี่ = Load x วันเก็บสํารอง = 3,000 x 4 = 12,000 Wh หรือ 12 kWh
จะต้องเลือกใช้แบตเตอรี่ที่มีความจุไฟฟ้ารวมอย่างน้อย 12 kWh จึงจะมั่นใจว่ามีไฟฟ้าใช้ได้อย่างต่อเนื่องตลอด 4 วัน แม้ในวันที่ไม่มีแสงแดดให้ชาร์จแบตเตอรี่ได้อย่างเพียงพอก็ตาม

การคำนวณ ขนาดแผงโซล่าเซลล์

การคํานวณขนาดแผงโซลาร์ ให้นําความจุของแบตเตอรี่หารด้วยชั่วโมงแสงอาทิตย์
ตัวอย่าง
ความจุแบตเตอรี่ต่อวัน = 3,500 วัตต์
ชั่วโมงแสงอาทิตย์ = 4 ชม. /วัน
ขนาดแผงโซลาร์ = ความจุแบตเตอรี่ ÷ ชั่วโมงแสงอาทิตย์ = 3,000 ÷ 4  = 875 W
ต้องเลือกติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ขนาด 350 W จำนวน 3 แผง จึงจะผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอกับการใช้งานตลอดทั้งวัน

การคำนวณ Solar Charge Controller

อุปกรณ์ที่ควบคุมการชาร์จแบตเตอรี่จากแผงโซลาร์เซลล์ โดยใช้ควบคุมกระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้าที่ใช้ในการชาร์จแบตเตอรี่ ไม่ให้มากหรือน้อยจนเกินไป
การเลือกใช้ Solar Charge Controller ควรมีกําลังไฟฟ้า 1.25 – 1.3 เท่า ของกําลังไฟฟ้ารวมของแผงโซลาร์เซลล์ เช่น
แผงโซลาร์เซลล์ขนาด 1,000 W

กําลังไฟฟ้า Solar Charge Controller ที่เหมาะสม = 1,000 x 1.25 = 1,250 W
ควรเลือกใช้ Solar Charge Controller ที่มีกําลังไฟฟ้ามากกว่า 1,250 W ขึ้นไปนั่นเอง
การคำนวณ Inverter เป็นอุปกรณ์ที่แปลงกระแสไฟฟ้ากระแสตรง (DC) เป็นกระแสสลับ (AC) เพื่อจ่ายให้กับภาระใช้ไฟฟ้าภายในบ้านหรืออาคารได้
ตัวอย่าง
กําลังไฟฟ้ารวมของอุปกรณ์ไฟฟ้า = 1,000 W
กําลังไฟฟ้า Inverter ที่เลือกใช้ = 1,000 x 1.2 = 1,200 W

ควรเลือกInverterที่มีกําลังไฟฟ้าตั้งแต่1,200Wขึ้นไปซึ่งจะมีความเหมาะสมกับภาระการใช้งานมากที่สุด

สรุปว่าโซลาร์เซลล์แบบออฟกริด มักจะราคาอยู่ที่ประมาณ 3.5-4.5 หมื่นบาทต่อ kW โดยใช้เวลาคืนทุนประมาณ 5-7 ปี ขึ้นกับขนาดระบบและการใช้งานด้วยนั่นเอง

การคำนวณโซล่าเซลล์ระบบ On Grid กับ Off Grid นั้น มีความแตกต่างกันตามความเหมาะสมในการใช้งาน โดยการคำนวณระบบแบบ On Grid จะเน้นที่การคำนวณพลังงานไฟฟ้าให้เหมาะสมกับการใช้งานโซล่าเซลล์ ในขณะที่การคำนวณโซล่าเซลล์แบบออฟกริดจะให้ความสำคัญกับอุปกรณ์ที่รองรับการใช้งานเพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือกใช้ แต่อย่างไรก็ตามเพื่อให้การทำงานของระบบเป็นไปอย่างเหมาะสม การเลือกโซล่าเซลล์ที่เหมาะกับพื้นที่อยู่อาศัยหรือพื้นที่ใช้งานอย่างรอบคอบเพื่อความคุ้มค่าและเพื่อให้เกิดประโยชน์ใช้สอยได้มากที่สุดด้วยนั่นเอง 

Scroll to Top